in

ผลการศึกษา “ThaiCreatorCulture” โดย เดวดิ เครค และการทำงานร่วมกับ AIS

AIS ร่วมกับ Professor David Craig นักวิชาการด้านโซเชียลมีเดียชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา จัดงานเสวนา Global Creator Culture Summit 

ผลการศึกษา “ThaiCreatorCulture” โดย เดวดิ เครค และการทำงานร่วมกับ AIS

ปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป เอไอเอส กล่าวว่าCreator ได้ก้าวสู่การเป็นสื่อหลักที่ผู้บริโภคยุคนี้เลือกเปิดรับเป็นอันดับต้น ๆ การพัฒนา Digital Infrastructure เพื่อส่งมอบประสบการณ์ดิจิทัลและเทคโนโลยีเพื่อคนไทย เราพร้อมสนับสนุนการทำงานของ Creator ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ และการเชื่อมโยงทักษะองค์ความรู้ใหม่ ๆ “

แน่นอนว่าจากการศึกษาและสัมภาษณ์พูดคุยกับเหล่าครีเอเตอร์ชั้นนำของไทยหลากหลายวงการ ทำให้รายงานชิ้นนี้ได้ข้อเสนอที่น่าสนใจในหลายมุมมอง โดย เดวิด เครค ได้อธิบายวงการครีเอเตอร์ของไทย

โดยได้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้

1. Socio-Cultural Creators ครีเอเตอร์ด้านสังคมและวัฒนธรรม

คอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่สร้างสรรคอนเทนต์สะท้อนถึงปัญหาสังคมและวัฒนธรรม มุ่งเน้นที่ประเด็นต่างๆ เช่น อัตลักษณ์ ชุมชน และวัฒนธรรมท้องถิ่น เนื้อหาจะมุ่งสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ชมในการอภิปรายเกี่ยวกับค่านิยมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ที่มา – https://www.facebook.com/spin9.me

นายอติชาญ เชิงชวโน หรือ อู๋ Spin9 ให้ความเห็นว่า “ ผมแบ่งครีเอเตอร์ทั้งหมดในประเทศไทยออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่ใหญ่กว่า ผมเรียกพวกเขาว่า ‘ครีเอเตอร์สายบันเทิง’ ซึ่งจะเน้นไปที่เนื้อหาที่สร้างความบันเทิงทั้งหมด วัฒนธรรมสมัยใหม่ ภาพยนตร์ ละคร และเพลง บางครั้งก็ Vlog ไลฟ์สไตล์คอนเทนต์ตลก ๆ ทุกอย่าง ส่วนกลุ่มที่สองเราเรียกว่า ‘ครีเอเตอร์สายข้อมูล’ ซึ่งผมจัดอยู่ในกลุ่มนี้ ”

ที่มา – https://www.facebook.com/iPhonemod

นายอรรถพล ทะแพงพันธ์ หรือ ต้อม iMod ก็ชี้ให้เห็นถึงการทำเป็นครีเอเตอร์ที่ต้องการสร้างการมีส่วนร่วมและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง “ แนวทางของเราคือการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการซื้ออะไรสักอย่าง อย่างเช่น เมื่อเราไปสายยานยนต์ เรามุ่งเน้นไปที่การสร้างเนื้อหาที่แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญและการใช้งานจริงของเรา อย่าง Tesla ก็จะรีวิวในเชิงใช้งานจริง กลยุทธ์นี้ช่วยให้เราโดดเด่นและได้รับความไว้วางใจ ”

ที่มา – https://www.facebook.com/theghostradio

ในมุมมองจาก นายวัชรพล ฝึกใจดี หรือ แจ็ค The Ghost Radio ครีเอเตอร์ที่ทำเรื่องความเชื่อเป็นหลักก็มีแนวทางที่น่าสนใจเช่นกัน “ การฟังเรื่องผีไม่ใช่แค่เพื่อความบันเทิงอย่างเดียว แต่ยังได้เรียนรู้ในแง่ของบทเรียนชีวิตด้วย อย่างพวกศีลธรรม กรรม และธรรมชาติของมนุษย์ เรื่องราวเหล่านี้มักจะมีแง่คิดที่มีคุณค่า ซึ่งผู้ฟังสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ พวกเขาส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และไตร่ตรองการประพฤติตัวให้อยู่ในศีลในธรรม ส่งเสริมคุณค่าที่ดีในสังคม ”

2. Commerce Creators ครีเอเตอร์นักขาย

การโปรโมตสินค้า การรีวิว และการขายของให้เข้ากับเนื้อหาที่แต่ละคนวางไว้ โดยใช้ความมีอิทธิพลของตนในการกระตุ้นการซื้อและสร้างรายได้ผ่านการตลาดแบบเป็นพันธมิตร ผู้สนับสนุน และการขายตรง นับรวมถึงผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ /KOLs หรือผู้ขายผ่านไลฟ์สด

“Shoppertainment” หรือที่เรียกว่า ครีเอเตอร์นักขาย เป็นอีกคำที่มีความน่าสนใจมาก เป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย โดยการส่งเสริมการขายสินค้าและการบริการให้กับชุมชนของครีเอเตอร์แม้ว่าส่วนใหญ่จะอยู่บนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งของจีนเป็นส่วนใหญ่ เช่น TikTok Store, Lazada หรือ Shopee

ที่มา – https://www.facebook.com/ArTeeReview

นายวุฒิพงษ์ ลิขิตชีวัน หรือ อาตี๋รีวิว ได้ให้ข้อมูลจากการพูดคุยว่า ” ตอนนี้ก็ใช้ทุกแพลตฟอร์มเลย แพลตฟอร์มที่ใช้หลัก ๆ ก็จะเป็น TikTok  ส่วนแพลตฟอร์มที่ไม่ใช้ก็จะเป็น Instagram กับ YouTube ตอนนี้ได้ขยายไปยัง Lazada และ Shopee ในฐานะ Social Commerce ความเข้าใจในความคาดหวังของกลุ่มเป้าหมายและการเล่าเรื่องเป็นสิ่งสำคัญมาก ใน TikTok คุณไม่สามารถอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าได้มากนัก เนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลา ดังนั้นแทนที่จะเน้นข้อมูลหรือข้อเท็จจริง คุณสามารถทำให้คนดูมีอารมณ์ร่วมได้ “

ที่มา – https://www.facebook.com/nuttopak

นายภัคนิพัทธ์ สุดงาม จาก @NUTTOPAK บอกว่า ” การที่เราเริ่มมีชื่อเสียงทำให้แบรนด์ต่าง ๆ ให้ความสนใจเรามากขึ้น มีโอกาสได้ทำงานร่วมกับแบรนด์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรีวิวสินค้า เข้าร่วมอีเว้นท์คอนเสิร์ต ไปจนถึงมาราธอนด้วย   เราได้พาเพื่อนๆ Influencer มารู้จักกับแบรนด์ เลยได้ช่วยโปรโมทแคมเปญกับเข้างานเปิดตัวสินค้าไปด้วย “

ที่มา – https://www.facebook.com/bietheska

นายกฤษณ์ บุญญะรัง หรือ BieTheSka ก็มีความเห็นว่า ” เราเห็นว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มสำคัญที่มีการรวบรวมโปรโมชันพิเศษไว้และสื่อบันเทิงของเรา เรามุ่งเน้นที่การโปรโมทอย่างมีประสิทธิภาพ การขายสินค้า และสร้างพื้นที่ให้กับเหล่าครีเอเตอร์ “

3. Multicultural and Diversity Creators ครีเอเตอร์ด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมและทางเพศ 

มุ่งเน้นการเผยแพร่ที่มาของวัฒนธรรม อัตลักษณ์ และประสบการณ์ต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย มีการเน้นย้ำถึงประเด็นเชื้อชาติบ่อยครั้ง รวมถึงเรื่องเพศและในด้านอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม เช่น ครีเอเตอร์กลุ่ม Queer หรือผู้สร้างสรรค์ที่นำเสนอเรื่องราวท้องถิ่นหรือความเชื่อทางศาสนา

ที่มา – https://www.facebook.com/thammachad.yotajul

นายธรรมชาติ โยธาจุล จากช่อง Thammachad นำเสนอความคิดเห็นผ่านการทำงานของตัวเองว่า “ ช่องของฉันสนับสนุนให้ทุกคนกล้าแสดงความเป็นตัวของตัวเองออกมา โดยส่วนตัวแม้ฉันจะไม่ได้เข้าถึงการมีส่วนร่วมการเรียกร้องในเรื่องใด ๆ เป็นพิเศษ แต่ฉันแสดงให้ทุกคนเห็นถึงเลือกการแต่งกายอย่างอิสระเสรีแทน หลายคนมักบอกว่าพวกเขาเปิดใจต่อสังคมมากขึ้นเพราะฉัน เพศทางเลือกหลายคนบอกว่าฉันทำให้พวกเขากล้าเป็นตัวของตัวเองได้มากขึ้น รวมถึงผู้หญิงและผู้ชายที่เป็นเกย์หลายคนยังขอบคุณฉันที่ทำให้พวกเขาเข้าใจถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากขึ้น ”

ที่มา – https://www.instagram.com/baitong__j/

ในขณะที่ จรีรัตน์ เพชรโสม เจ้าของช่อง baitong__j  ก็ให้มุมมองเสริมอีกว่า ” คนที่ดูเราส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายอายุประมาณ 35-50 ปี แล้วก็จะมีแฟน ๆ จากรายการประกวดนางงามที่ดูเรามาจากพี่ๆ LGBTQ+ เยอะเลย หลังการประกวดนางงาม คอนเทนต์ของเราก็แพร่หลายไปหลากหลายมากขึ้นโดยเฉพาะจากฟิลิปปินส์ ”

4.Nomad Creators ครีเอเตอร์สายท่องเที่ยว

เป็นผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวบ่อยครั้งและมักทำงานจากสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลก โดยผลิตเนื้อหาคอนเทนต์จากประสบการณ์การท่องเที่ยว รวมถึงวัฒนธรรมที่พวกเขาพบเจอ หรือแม้แต่กลุ่ม “ครีเอเตอร์จากชนบท” มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่นและผลักดันผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นไปสู่ระดับประเทศและต่างประเทศ อาจเป็นตลาดที่สามารถเติบโตต่อไปได้มากขึ้นในระดับสากลและนำไปสู่รายได้ของวัฒนธรรมครีเอเตอร์

ที่มา – https://www.facebook.com/PANGDANGNAIHandicraftChiangdao/?locale=th_TH

นางสาวลักขณา เหียง (มะปราง) จากเพจ PANG DANG NAI Handicraft Chiangdao อธิบายว่า “ เราถ่ายเกี่ยวกับการทำไร่ทำสวน ถ่ายชีวิตประจำวันของเรา และนำเสนอในรูปแบบเฉพาะของเรา จากการที่เราเผยแพร่นี้ ทำให้เราได้รับความสนใจอย่างมากบนโซเชียลมีเดีย และยังได้รับการสำรวจในการร่วมลงทุนในอนาคต เช่น การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น อย่างพริกและผลไม้ของเรา ”

ที่มา – https://www.facebook.com/sep.chiangmai/posts/โฉมใหม่-akha-ama-coffee-อาข่าอาม่า-สาขาพระสิงห์เสพเชียงใหม่จะพาทุกคนไปเสพรสชาติข/410226834436605/

ลี-อายุ จือปา เจ้าของ Akha Ama Coffee ผลิตภัณฑ์กาแฟชื่อดังที่ลุกขึ้นมาสร้างสรรค์คอนเทนต์ก็บอกย้ำอีกว่า “ พวกเราใช้โซเชียลมีเดียในการเชื่อมต่อกับลูกค้า เล่าเรื่องราวของเรา และสร้างความสัมพันธ์กับคนรักกาแฟและผู้สนับสนุนจากทั่วโลก เราได้เห็นตัวอย่างจากสาวชนเผ่าที่ใช้โซเชียลมีเดียอย่างชาญฉลาดในการโปรโมทวิถีชีวิตและสินค้าของเธอ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจที่ดีมาก ๆ ”

นี่คือผลการศึกษาของ Professor David Craig หรือ ศาสตราจารย์ เดวิด เคร นักวิชาการด้านโซเชียลมีเดียชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา ที่เข้ามาทำการศึกษาตลาดและวัฒนธรรมครีเอเตอร์ (Creator Culture) ของไทย โดยได้ทำงานร่วมกับ AIS ในฐานะพาร์ทเนอร์

ความคิดเห็น - Like เพจ iPhoneMod.net

เขียนโดย konlawat keawmoon