ก่อนหน้านี้ทีมงานเคยนำเสนอเรื่อง IoT หรือว่า Internet Of Things ให้ได้อ่านกันไปบ้างแล้วนะครับว่าคืออะไรและหลังๆ เราเองก็เริ่มได้ยินคำว่า NB-IoT มากยิ่งขึ้น วันนี้จะขอนำข้อมูลเรื่องนี้มาแชร์ให้กันฟังว่ามันคืออะไรและสำคัญยังไง แล้วใช้งานได้จริงในประเทศไทยแล้วหรือยัง เราจะได้ทราบกันครับ
NB-IoT คืออะไร?
NB-IoT ย่อมาจาก Narrowband IoT (NB-IoT) เป็นมาตรฐานระบบโครงข่ายที่ใช้พลังงานต่ำ (Low Power Wide Area Network (LPWAN) ที่ถูกพัฒนามาเพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถเชื่อมต่อเข้าหากันได้โดยผ่านโครงข่ายของสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่
ถ้าจะพูดให้เข้าใจแบบภาษาง่ายๆ ก็คือ คลื่นมือถือที่ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เชื่อมต่อเข้าหากันได้โดยใช้พลังงานที่ต่ำและข้อมูลที่ส่งหากันก็ไม่ต้องเยอะ แม้จะอยู่ในจุดที่ไกลกันก็ยังคุยกันได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่อผ่านสายให้ยุ่งยาก เพียงแค่มีซิม (SIM) ติดตั้งในอุปกรณ์นั้นๆ ก็ทำให้เชื่อมต่อและคุยกันได้แล้ว
ข้อดีของ NB-IoT คือ
- ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ ส่งข้อมูล uplink ในขนาดที่เหมาะสม จึงช่วยทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ IoT อยู่ได้นานถึง 10 ปี
- รองรับปริมาณอุปกรณ์ IoT ได้สูงสุดในระดับแสนตัวต่อสถานีฐาน
- รัศมีครอบคลุมของเครือข่ายต่อสถานีฐาน กระจายได้มากกว่า 10 ก.ม. รวมถึงในตัวอาคารก็ยังรับสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถพัฒนาเครือข่ายให้เปิดบริการ IoT ได้อย่างรวดเร็ว เพราะออกแบบอุปกรณ์ให้ใช้ร่วมกับ โครงข่าย 4G ในปัจจุบันได้ (ขอบคุณ Techsauce)
ผู้ให้บริการ NB-IoT ในไทยมีใครบ้าง
ณ ปัจจุบันมี 2 เจ้าเท่านั้นที่ให้บริการ คือ True และ AIS
ความสำคัญของ NB-IoT และตัวอย่างการนำไปใช้งานจริง
ถ้ายกตัวอย่างให้เห็นประโยชน์ที่ได้จากการใช้งานโครงข่าย NB-IoT เช่น ตัวอย่างการนำไปประยุกต์ใช้งานจริง จากภาพด้านบนเป็นลานจอดรถที่ดูผิวเผินก็ดูเหมือนลานจอดปกติทั่วไปไม่มีอะไรแปลกใหม่ แต่ว่าสถานที่จอดรถนี้สามารถทำให้เป็น Smart Parking ได้โดย
- นำเซนเซอร์ IoT มาฝังที่จุดถอดทุกจุดโดยไม่ต้องเดินสายไฟให้เสียเวลา
- ติดตั้งเซนเซอร์มากน้อยตามที่ต้องการ สมมติว่าลานจอดนี้รองรับรถยนต์ได้ 1,000 คัน ก็ติดตั้งเซนเซอร์ 1,000 ตัวลงที่ลานจอดรถนั้นได้เลยเพียงเจาะพื้นเป็นหลุมที่สามารถใส่เซนเซอร์เข้าไปได้ ซึ่งสามารถทำเสร็จได้ในเวลาไม่กี่วัน
- ในเซนเซอร์นั้นจะมีซิมติดตั้งเข้าไปเพื่อให้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายที่จะทำให้คุยกับตัวอุปกรณ์ควบคุมศูนย์กลางได้ผ่านเครือข่าย NB-IoT
- เซนเซอร์ดังกล่าวจะบอกได้ว่าจุดไหนบ้างที่ว่าง ผู้ให้บริการที่จอดรถและคนที่เข้าใช้บริการจะทราบได้ว่ามีที่ว่างกี่ที่และจุดไหนบ้าง (บอกตำแหน่งได้เลย อยู่ที่การตั้งค่า) หากจะต่อยอดอีกก็สามารถแสดงป้ายอัจฉริยะที่จะนำทางผู้ขับไปจอดยังตำแหน่งที่ว่างดังกล่าวได้เลย
- ไม่ว่าลานจอดรถจะกว้างใหญ่แค่ไหนก็ไร้ปัญหาเพราะว่าตัวเซนเซอร์นั้นเชื่อมต่อไร้สายผ่านเครือข่ายมือถืออยู่แล้ว
สรุปแล้วมันคือระบบที่เพิ่มความสะดวกในการจัดการกับอุปกรณ์หลายๆ ตัวให้สามารถเชื่อมต่อเข้าหากันได้อย่างสะดวกง่ายดายไม่ต้องเปิดสายให้ยุ่งยากอีกต่อไป แถมอายุการใช้งานของแบตเตอรี่สำหรับอุปกรณ์ IoT เหล่านั้นก็อยู่ได้นานหากเซนเซอร์ตัวไหนเกิดปัญหาก็สามารถทราบได้เป็นรายตัวได้เลย สะดวกง่ายต่อการบำรุงรักษา
นี่แค่เพียงตัวอย่างหนึ่งในการนำ NB-IoT มาใช้งาน อยากต้องการดูโซลูชั่นการนำ NB-IoT มาใช้งานจริงสามารถชมเพิ่มเติมได้ที่ TrueBusiness ซึ่งเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมานั้นที่งาน TrueBusiness Forum 2018 ก็ได้จัดบูธแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว
GSMA รับรอง TrueMove H เป็นผู้ให้บริการโครงข่าย NB-IoT รายเดียวที่ครอบคลุมทั่วไทยและมีความพร้อมด้าน IoT Ecosystem
ต้องบอกว่าประเทศไทยของเรานั้นสามารถใช้งาน NB-IoT ได้จริงแล้ววันนี้ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงความฝันบนกระดาษอีกต่อไป เพราะว่าผู้ให้บริการในไทยนั้นได้เปิดให้บริการดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งหนึ่งในผู้ให้บริการ NB-IoT ที่มีชื่อเสียงในไทยคือ True ด้วยเหตุผลดังนี้
- โครงข่าย IoT ที่ดีที่สุด ครอบคลุมมากที่สุด โดยมีโครงข่าย NB-IoT ที่พร้อมใช้งาน ครอบคลุมทั่วประเทศ สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีแผนติดตั้งโครงข่าย LTE-M(CaT-M1) ให้ครอบคลุมทั่วประเทศในไตรมาสที่ 3 ของปี 2561
- แพลตฟอร์มไอโอที (IoT Platform) ครอบคลุมทั่วโลก ด้วยความร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำระดับโลก
- พันธมิตรคู่ค้าและผู้ให้บริการโซลูชันที่ดีที่สุด โดยปัจจุบันมีคู่ค้ามากกว่า 120 ราย ครอบคลุมบริการหลากหลาย
- เครือข่ายชุมชนนักพัฒนา IoT (IoT Community) ที่มากที่สุดถึง 17 แห่ง ศูนย์ค้นคว้าวิจัยเพื่อสร้างเครือข่ายให้ต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อสนับสนุนเมกเกอร์ นักพัฒนาผลิตภัณฑ์และ IoT โซลูชั่น รวมถึงเหล่าสตาร์ทอัพ
- ดิจิทัลแพลตฟอร์มหลากหลาย (Multi-Digital Platform) ตอบโจทย์นักพัฒนาและองค์กรธุรกิจ ให้ต่อยอดเทคโนโลยี IoT พัฒนาเป็นบริการได้แบบ End-to-End
ดังนั้นจึงทำให้
True เป็นผู้ให้บริการเป็นรายเดียวในไทยและอาเซี่ยนที่ทาง GSMA ได้ให้การรับรองว่ามีความพร้อมในการให้บริการด้านโครงข่าย NB-IoT ที่สามารถใช้งานได้อย่างจริงแล้วในวันนี้
ดังนั้น ผู้ใช้งานหรือนักธุรกิจที่กำลังมองหาโซลูชั่นด้าน IoT ก็อุ่นใจได้ว่าระบบ IoT ที่เรากำลังจะลงทุนนั้นมีเครือข่ายที่รองรับและใช้งานได้จริงไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใดในประเทศไทย
เกี่ยวกับ GSMA
GSMA – Global System for Mobile Communications ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1995 เป็นองกรณ์ที่ดูแลร่างการค้า ผลประโยชน์ของผู้ประกอบการโครงข่ายโทรคมนาคมทั่วโลกซึ่งมีผู้ประกอบการโทรคมนาคมเป็นสมาชิกกว่า 800 ราย จุดแข็งของ GSMA คือ เก็บข้อมูลของผู้ประกอบการและการพัฒนาทางด้านโทรคมนาคมทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นข้อมูลพื้นฐานของโครงข่าย คลื่นความถี่และข้อมูลการพัฒนาเทคโนโลยีโครงข่ายของผู้ให้บริการต่างๆ
True IoT : The Future is Real. โลกแห่ง IoT ใช้ได้จริงทั่วไทยแล้ววันนี้ ติดตามข่าวสารไอโอทีจากทรูเพิ่มเติม ได้ทาง www.trueiot.truecorp.co.th และ FB Fanpage : True IoT