in

Apple กับสิ่งแวดล้อม และแผนของ Apple สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2030

Apple เป็นบริษัทใหญ่และเป็นผู้นำในการรักษาสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ เห็นได้จากหลาย ๆ โครงการที่ Apple ได้ลงมือและลงทุนไปเพื่อก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน 100%

“โลกรอไม่ได้ เราเองก็รอไม่ได้เช่นกัน”

แผนการของ Apple สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2030

  • ดีไซน์เพื่อลดคาร์บอน โดยการนำวัสดุรีไซเคิลมาใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์มากขึ้น และพยายามทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นใช้พลังงานน้อยลง
  • ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งในร้านค้า สำนักงาน ศูนย์ข้อมูล และในไซต์งานการผลิตสินค้าต่าง ๆ
  • นำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ โดย Apple พยายามที่จะเปลี่ยนซัพพลายเชนการผลิตทั้งหมดของให้ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 100% ทั้งแบบที่ได้จากแสงอาทิตย์ ลม และโครงการพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ
  • หลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซโดยตรง Apple กำลังสร้างสรรค์กระบวนการใหม่ ๆ ในอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกรวมถึงในซัพพลายเชนภายในบริษัทเพื่อหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • ลงทุนกับวิธีการทางธรรมชาติ Apple กำลังลงทุนในการจัดการฟื้นฟูพื้นที่ป่าและระบบนิเวศด้วยแนวทางที่ให้ความเคารพต่อชุมชนและสามารถกำจัดก๊าซคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศ

iMac M1 2021 กับความพยายามลดคาร์บอนของ Apple

Apple ได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยลง และ iMac รุ่น 24 นิ้วที่พึ่งเปิดตัวไป คือข้อพิสูจน์ เพราะนอกจากตัวเครื่องจะทำจากอะลูมิเนียมคาร์บอนต่ำแล้ว ยังใช้พลาสติกรีไซเคิล ดีบุกรีไซเคิล และแร่โลหะหายากที่ผ่านการรีไซเคิลมาแล้วทั้งสิ้น

ชิป M1 ใหม่ที่อยู่ใน iMac รุ่น 24 นิ้ว ก็เป็นชิปตัวแรกที่ออกแบบมาสำหรับ Mac โดยเฉพาะ ซึ่งได้รับการออกแบบมาให้ประมวลผลแต่ละงานด้วยประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงให้ประสิทธิภาพที่โดดเด่นโดยใช้พลังงานน้อยลงกว่าเดิมมาก การใช้วัสดุรีไซเคิลและวัสดุคาร์บอนต่ำในการผลิต iMac รุ่น 24 นิ้ว สามารถลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นต์ลงไปถึง 20% เมื่อเทียบกับการผลิต iMac รุ่นก่อนหน้า

นอกจากนี้สิ้นค้าหลาย ๆ ตัวของ Apple ในตอนนี้ผลิตจากอะลูมิเนียมรีไซเคิล 100% เช่น Mac รุ่นชิป M1, iPad รุ่นที่ 8, iPad Air รุ่นที่ 4 รวมถึง Apple Watch และสิ้นค้าอื่น ๆ อีกมากมาย

การไม่แถมอะแดปเตอร์มาให้ในกล่อง iPhone และ Apple Watch สามารถช่วยโลกยังไง ?

การผลิตอะแดปเตอร์แปลงไฟใช้วัสดุอย่างเช่น พลาสติก ทองแดง ดีบุก และสังกะสีเป็นจำนวนมาก ซึ่งการนำอะแดปเตอร์เหล่านี้ออกจากบรรจุภัณฑ์ของ iPhone และ Apple Watch เมื่อปีที่แล้วสามารถช่วยลดการขุดหาแร่ธาตุจากโลกลงได้ไปได้เยอะ

นอกจากนี้ยังสามารถลดการปล่อยมลพิษที่มาจากกระบวนการและการขนส่งได้ด้วย โดยทาง Apple บอกว่า เมื่อไม่ต้องแถมอะแดปเตอร์มาในกล่องก็สามารถลดขนาดของกล่องสินค้าให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งช่วยให้ Apple สามารถใส่กล่อง iPhone 12 ลงในแท่นบรรจุสินค้าเพื่อขนส่งได้ในจำนวนที่มากขึ้นต่อการขนส่งแต่ละครั้ง สูงสุดถึง 70%

บริการ iMessage, iCloud หรือแม้กระทั่ง Siri ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 100%

ห้องเซิร์ฟเวอร์ที่ Apple ใช้เก็บและดูแลบริการต่าง ๆ ของ Apple เช่น Siri, iMessage และ iCloud ที่เป็นบริการแบบเรียลไทม์ เป็นห้องที่ใช้พลังงานมากที่สุดในบริษัท Apple จึงเลือกใช้แหล่งพลังงานจากไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 100% ในการดูแลส่วนนี้

Daisy และ Dave คือใคร ?

Daisy และ Dave เป็นหุ่นยนต์ที่มีหน้าที่คัดแยกชิ้นส่วนของ iPhone เก่า ๆ เพื่อนำวัสดุอย่างแร่โลหะหายาก เหล็กกล้า และสเตนกลับมารีไซเคิล เพื่อนำวัสดุจากอุปกรณ์เก่าไปสร้างอุปกรณ์เครื่องใหม่ โดยวัสดุเหล่านี้จะกลับเข้าสู่ตลาดซื้อขายวัตถุดิบอีกครั้งเพื่อให้ Apple และบริษัทเจ้าอื่นสามารถนำวัสดุรีไซเคิลไปใช้สำหรับผลิตอุปกรณ์รุ่นต่อ ๆ ไปของตนได้ ทำให้ในปี 2020 ขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 39,000 เมตริกตันไม่ต้องถูกส่งไปยังพื้นที่ฝังกลบ

เปลี่ยนอุปกรณ์ที่คุณมีให้เป็นอุปกรณ์ที่คุณต้องการ ใน Apple Trade In

เราสามารถนำอุปกรณ์ของเราไปแลกเมื่อเราซื้ออุปกรณ์ใหม่ จากนั้น Apple จะนำมูลค่าการแลกที่ได้ไปหักออกจากยอดที่เราซื้อ หรือหากไม่สามารถทำการ Trade In ได้ อย่างน้อย Apple ก็จะนำอุปกรณ์ของเราไปรีไซเคิลให้ฟรี ไม่ต้องกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไร้ค่า อ่านรายละเอียดได้ที่นี่

นอกจากนี้ Apple ยังมีโครงการต่าง ๆ มากมายในการรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกใบนี้ และพูดเสมอว่า Apple จะเป็นกลางทางคาร์บอน 100% ภายในปี 2030

ชมวิดีโอ

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

ความคิดเห็น - Like เพจ iPhoneMod.net

เขียนโดย Nooknick Yanika

Humanities, English Literature
Chiangmai University