Apple Watch Series 4, 5 และ 6 ที่มาพร้อมฟีเจอร์การวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ล่าสุด 27 ม.ค. 2564 ทาง Apple ได้ปล่อยอัปเดต watchOS 7.3. และ iOS 14.4 ที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานในประเทศไทยสามารถใช้งานฟีเจอร์นี้ได้แล้ว มาชมวิธีการกันครับ
วิธีเปิดใช้งาน ECG บน Apple Watch ทำอย่างไร พร้อมแนะนำการอ่านค่าที่ได้
การเปิดใช้งานฟีเจอร์การวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจสิ่งที่ต้องทำ 2 อย่างแรกคือ อัปเดต iPhone ให้เป็น iOS 14.4 และอัปเดต Apple Watch ให้เป็น watchOS 7.3
วิธีเปิดใช้งานฟีเจอร์วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG)
ผู้ใช้จะต้องตั้งค่าเปิดใช้งาน ECG ในแอป Watch บน iPhone ก่อน > แตะ หัวใจ (Heart) > แตะ ตั้งค่าแอป ECG ในแอปสุขภาพ
แตะตั้งค่า > กรอกข้อมูลวันเกิด แล้วแตะดำเนินการต่อ > ถ้ายังไม่มีแอป ECG บน Apple Watch ให้แตะ ติดตั้งบน Apple Watch
แตะดำเนินการต่อ (แนะนำให้อ่านข้อมูลการทำงานของแอป ECG และสิ่งที่ควรรู้ด้วย)
เมื่อตั้งค่าเปิดใช้งานแล้วก็สามารถวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้เลย
วิธีวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) บน Apple Watch
สวมใส่ Apple Watch ให้กระชับพอดี เปิดแอป ECG บน Apple Watch แล้ววางนิ้วลงบนปุ่ม Digital Crown เป็นเวลา 30 วินาที
เซ็นเซอร์ก็จะทำการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เมื่อวัดเสร็จเรียบร้อยแล้วก็แสดงแสดงผลของคลื่นไฟฟ้าหัวใจบนหน้าจอ หากการบันทึก ECG ไม่ได้แสดงผลว่ามีการเกิดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว แสดงว่าปกติ ถ้าหากเรารู้สึกไม่สบาย ให้เลื่อนลงมาแตะ เพิ่มอาการ
ข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บรวบรวมไว้ในแอปสุขภาพ (Health) โดยเก็บประวัติการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจของเราไว้ สามารถนำออกเป็นไฟล์ PDF เพื่อส่งต่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้กับแพทย์ทำการวินิจฉัยต่อได้รวดเร็วมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์การแจ้งเตือนจังหวะการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอ (Irregular Heart Rate Notification) บน Apple Watch เพิ่มเข้ามาด้วย สามารถตรวจจับจังหวะของหัวใจที่เต้นไม่สม่ำเสมอหรือตรวจพบภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ได้อีกด้วย เมื่อตรวจพบแล้ว Apple Watch ก็จะแจ้งเตือนให้ผู้ใช้ทราบทันที
วิธีตั้งค่าการแจ้งเตือนจังหวะการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอ
ไปที่แอป Watch บน iPhone ก่อน > แตะ หัวใจ (Heart) > ตั้งค่าการแจ้งเตือนจังหวะการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอในแอปสุขภาพ
แตะ ตั้งค่า > ดำเนินการต่อ > กรอกวันเกิด และระบุประวัติการตรวจภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFiB) แล้วแตะดำเนินการต่อ
อ่านสิ่งที่ควรรู้ และแตะดำเนินการต่อ > แตะ เปิดการแจ้งเตือน
ข้อมูลที่ควรทราบ
Normal Sinus Rhythm**
เป็นจังหวะการเต้นของหัวใจในภาวะปกติ เกิดจาก Sinus Node โดยมีจังหวะสม่ำเสมอ, อัตราการเต้น 50-100 ครั้ง/นาที
Atrial Fibrillation (AF หรือ AFib)*
เป็นภาวะการเต้นผิดปกติของหัวใจ (Arrhythmia) ที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในผู้ป่วย
สูงอายุ ในคนไทย พบใน 0.36% ของประชากรทั่วไปและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากประชากรผู้สูงอายุของ
ไทยเพิ่มขึ้นทุกปี ผลกระทบที่สำคัญของ AF คือการเกิดเลือดเข็งตัวในหัวใจห้องบนซ้าย ซึ่งมีโอกาสหลุดเข้าไปใน
กระแสโลหิตทำให้เกิดอัมภาตหรืออัมพฤกษ์ได้*
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG)*
การวินิจฉัย AFib อาศัย ECG เป็นหลัก ลักษณะเฉพาะของ AF คือ มี Atrial Rhythm ที่ไม่สม่ำเสมอ ไม่มี P
wave ที่ชัดเจนแต่จะเห็นเป็น Fibrillatory Wave ที่ทั้งขนาด รูปร่างและความถี่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
การตอบสนองของหัวใจห้องล่างขึ้นกับการทำงานของ AV Node ส่วนใหญ่แล้วการเต้นของหัวใจห้องล่างจะเร็ว และ ไม่สม่ำเสมอ
〜❤️ ECG ยังช่วยบอกถึงความผิดปกติของหัวใจอื่น เช่น หัวใจโต หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นต้น
ในผู้ป่วย Wolf-Parkinson-White Syndrome ซึ่งเกิดจากการที่มี Accessory Pathway เชื่อมต่อระหว่าง
หัวใจห้องบนและห้องถ่าง pahwa นี้สามารถนำกระแสไฟฟ้าได้เร็วมาก และมากกว่า AV node เมื่อเกิด Atrial
Fbrillation อาจทำให้หัวใจห้องล่างเต้นเร็วมากจนเกิด Ventricular Fibrillation ภาวะนี้วินิจฉัยจาก ECG ซึ่งมี Delta waves และ ventricular rate ที่เร็วมากๆ
ที่มา
* เอกสาร : ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นรัว โดย แพทย์หญิงสิรินทร์ อภิญาสวัสดิ์ https://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/atrial%20fibrillation.pdf
** Normal Sinus Rhythm https://www.sciencedirect.com/topics/engineering/normal-sinus-rhythm
.
.
ทั้งนี้อยากให้อ่านบทความนี้เพิ่มเติมจากเพจ 1412 Cardiology ด้วยนะครับ เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ค่อนข้างชัดเจน https://www.facebook.com/JarvisChaisiriLancelotWipat1412/posts/1630432283830527
.
.
ข้อมูลเกี่ยวกับแอป ECG จาก Apple
https://www.apple.com/th/newsroom/2021/01/ecg-app-and-irregular-rhythm-notification-coming-to-apple-watch/