in

ฟีเจอร์วัดค่าออกซิเจนในเลือด (Spo2) บน Apple Watch Series 6 ทำงานอย่างไร รวมทุกสิ่งที่ต้องทราบ

Apple Watch Series 6 มาพร้อมกับฟีเจอร์วัดค่าออกซิเจนในเลือด (SpO2) ของผู้ใช้ผ่านเซ็นเซอร์ใหม่ที่ติดตั้งมาพร้อมเครื่อง สามารถติดตามและอ่านค่าออกซิเจนในเลือดเรามาชมกันเลยว่าค่า SpO2 นั้นใช้งานอย่างไร

ฟีเจอร์วัดค่าออกซิเจนในเลือด (Spo2) บน Apple Watch Series 6 ทำงานอย่างไร รวมทุกสิ่งที่ต้องทราบ

Apple Watch Series 6 จะมาพร้อมเซ็นเซอร์สำหรับการวัดค่าออกซิเจนในเลือด (SpO2) โดยจะมีไฟ LED สีเขียว สีแดง และอินฟราเรดที่ส่องแสงไปยังเส้นเลือดบนข้อมือ และใช้โฟโตไดโอดวัดปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมา การวัดจะวัดผ่านแอป Blood Oxygen บน Apple Watch Series 6

ซึ่ง Apple Watch จะใช้ข้อมูลนี้ในการคำนวณสีของเลือดที่เป็นตัวบ่งชี้ระดับออกซิเจนในเลือดว่ามีมากน้อยเพียงใด เลือดที่มีสีแดงสดจะให้ออกซิเจนได้ดี ส่วนเลือดสีเข้มนั้นบอกได้ว่ามีออกซิเจนน้อย

Apple Watch Series 6 นั้นสามารถวัดระดับออกซิเจนในเลือดได้ระว่าง 70% – 100% ซึ่งคนที่มีสุขภาพดีปกตินั้นจะมีค่าออกซิเจนในเลือดอยู่ที่ 95% – 100% ส่วนผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคปอด อาจจะมีเปอร์เซ็นต์เฉลี่ยที่ต่ำกว่าปกติ

เนื่องด้วยจุดประสงค์ของ Apple ไม่ได้ตั้งใจให้ฟังก์ชันการวัดค่าออกซิเจนในเลือดเป็นเครื่องมือหรือใช้งานทางการแพทย์ ดังนั้น Apple Watch จะไม่แจ้งเตือนเมื่อพบระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ

สิ่งที่ควรทราบ

  • ฟีเจอร์นี้สามารถใช้งานได้บน Apple Watch Series 6 ที่อัปเดตเป็น watchOS เวอร์ชันล่าสุด โดยจับคู่กับ iPhone 6s ขึ้นไป และต้องอัปเดตเป็น iOS เวอร์ชันล่าสุด
  • ฟีเจอร์การวัดค่าออกซิเจนในเลือดมีให้บริการเกือบทุกประเทศทั่วโลก เช็คได้ที่นี่ สามารถใช้งานในประเทศไทยได้
  • ผู้ใช้ Apple Watch ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะไม่สามารถใช้งานแอป Blood Oxygen ได้ รวมถึงผู้ใช้ Apple Watch ที่ถูกตั้งค่าแบบครอบครัวก็ไม่สามารถใช้งานได้

การเปิดใช้งานและการวัดค่าออกซิเจนในเลือด (SpO2)

เราสามารถเปิดใช้งานฟีเจอร์วัดระดับออกซิเจนในเลือดได้ตั้งแต่ตอนที่เราเริ่มตั้งค่า Apple Watch Series 6 โดยระบบจะถามว่าต้องการเปิดใช้งานการวัดออกซิเจนในเลือดหรือไม่ ให้เราแตะ “เปิดใช้งาน” ได้เลย หรือจะเปิดในส่วนการตั้งค่า > Blood Oxygen บน Apple Watch ก็ได้

วิธีการวัดระดับออกซิเจนในเลือด บน Apple Watch Series 6

เช็คให้แน่ใจว่าเราสวมใส่ Apple Watch Series 6 กระชับกับข้อมือแล้ว ไม่รัดหรือไม่หลวมจนเกินไป

จากนั้นเปิดแอป Blood Oxygen บน Apple Watch

วางข้อมือให้นิ่งและตรวจสอบว่า Apple Watch แนบกับข้อมือ โดย Apple Watch จะต้องหงายขึ้น แตะ เริ่ม

จากนั้นก็รอหยุดนิ่งเป็นเวลา 15 วินาที

ผลการวัดระดับออกซิเจนในเลือดจะแสดงขึ้นมา เมื่อการวัดเสร็จสมบูรณ์ จากนั้นก็แตะเสร็จสิ้นได้เลย

ผู้ใช้สามารถเข้าไปเช็คดูประวัติการวัดค่าออกซิเจนในเลือดที่ผ่านมาได้ทั้งแบบรายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี ในแอปสุขภาพ (Health) บน iPhone ในเมนู “ออกซิเจนในเลือด”

การอ่านค่าออกซิเจนในเลือดอัตโนมัติ

นอกจากเราจะวัดระดับออกซิเจนเลือดได้ผ่านแอป Blood Oxygen แล้ว เรายังสามารถตั้งค่าให้ Apple Watch อ่านค่าแบบอัตโนมัติตลอดทั้งวันได้อีกด้วย แต่การวัดจะไม่ได้วัดตลอดเวลา Apple Watch จะวัดเพียงไม่กี่ครั้งต่อวัน ความถี่จะไม่เท่ากับการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ เพราะการวัดค่าออกซิเจนนั้นข้อมือผู้ใช้จะต้องอยู่นิ่งและอยู่ในทิศทางที่เหมาะสมกับการวัด

การอ่านค่าออกซิเจนในเลือดอัตโนมัติจะถูกเปิดใช้งานอยู่แล้ว แต่บางกรณีเวลาที่เราอยู่ในห้องมืด เราก็สามารถตั้งค่าปิดใช้งานการอ่านค่าออกซิเจนในเลือดแบบอัตโนมัติได้ 2 แบบ ดังนี้

  • แบบที่ 1 เปิดใช้งานการอ่านค่าออกซิเจนในเลือดอัตโนมัติในโหมดโรงภาพยนตร์
  • แบบที่ 2 เปิดใช้งานการอ่านค่าออกซิเจนในเลือดอัตโนมัติในโหมดโรงภาพยนตร์

Apple ระบุว่าการอ่านค่าออกซิเจนในเลือดจำเป็นต้องใช้แสงสีแดงสว่าง อาจจะรบกวนสมาธิในเวลาที่เรารับชมภาพยนตร์หรือนอนหลับในห้องมืด ๆ ก็สามารถตั้งค่าปิดได้ในส่วนการตั้งค่าบน Apple Watch

และถ้าหากต้องการปิดการวัดออกซิจนในเลือด ให้ไปปิดในส่วนการตั้งค่าบน Apple Watch หากต้องการกลับมาใช้งานก็สามารถสลับเปิดได้อีกครั้ง

Apple Watch Series 6 ได้เปิดขายในประเทศไทยแล้ว คาดว่าคนที่สั่งซื้อเริ่มได้รับเครื่องกันแล้ว ก็ลองตั้งค่าและใช้งานฟีเจอร์วัดค่าออกซิเจนในเลือดกันดูนะคะ

ขอบคุณ macrumors

ความคิดเห็น - Like เพจ iPhoneMod.net

เขียนโดย Zakura Kim

Bachelor degree of science, Software engineering major, Payap University