เราคงจะรู้จักปุ่มผู้ช่วย AssistiveTouch กันดีแล้ว และใช้เป็นทางลัดในการเข้าสู่ฟังก์ชันต่างๆ ที่ช่วยให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น เช่น ถ่ายภาพหน้าจอ ล็อคเครื่อง และส่วนใหญ่ก็ใช้แทนการกดปุ่มโฮม แต่ปุ่ม AssistiveTouch ยังมีการตั้งค่าการกดอื่นๆ ที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบมาก่อน มาดูกันเลยว่าจะตั้งค่ากันอย่างไร
ในบทความนี้จะเป็นการนำเสนอเทคนิคการตั้งค่าการแตะปุ่ม AssistiveTouch โดยเฉพาะ โดยกำหนดว่า การแตะปุ่ม AssistiveTouch 1 ครั้ง, 2 ครั้ง, การกดค้าง และการแตะแบบ 3D Touch จะให้ไปยังฟังก์ชันการทำงานไหน มาเริ่มกันเลย
ตั้งค่าการแตะปุ่ม AssistiveTouch ให้ทำงานตามเมนูที่ต้องการได้เร็วขึ้น
ไปที่การตั้งค่า (Settings) > ทั่วไป (General) > การช่วยการเข้าถึง (Accessibility) > AssistiveTouch
ในส่วนกำหนดการกระทำเอง ให้เลือก แตะหนึ่งครั้ง (Sigle-Tap) และกำหนดว่า จะให้ทำงานฟังก์ชันไหน ส่วนใหญ่เราก็จะกำหนดตามค่าเริ่มต้นที่เป็นการเปิดเมนูอยู่แล้ว
จากนั้นก็ทำการกำหนด การแตะสองครั้ง (Double-Tap) การกดค้าง (Long Press) และการแตะแบบ 3D Touch ได้ตามความสะดวกของเราเลย โดยเลือกว่าจะให้การแตะปุ่ม AssistiveTouch เข้าถึงเมนูใด
นอกจากนี้ ยังสามารถกำหนดช่วงเวลาที่ให้เราแตะสองครั้งและการกดค้าง ภายในเวลาที่กำหนดได้อีกด้วย เช่น เข้าถึงการแจ้งเตือน เมื่อแต่ 2 ครั้งในเวลา 0.3 วินาที ถ้าแตะสองครั้งช้าเกินกว่า 0.3 วินาที เครื่องก็จะเข้าถึงการแจ้งเตือน เนื่องจากเลยเวลาที่กำหนด
เมื่อตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ลองแตะปุ่ม AssistiveTouch แต่ละรูปแบบได้เลย เช่น แตะสองครั้งที่ปุ่ม AssistiveTouch ก็จะเข้าสู่หน้าจอการแจ้งเตือน
และนี่ก็เป็นวิธีตั้งค่าการแตะปุ่ม AssistiveTouch แต่ละรูปแบบให้ทำงานตามเมนูที่เราต้องการ เป็นอีกหนึ่งทางลัดที่ช่วยเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการเข้าถึงเมนูหรือการทำงานต่างๆ ส่วนวิธีการปรับแต่งเมนูบนสุดของปุ่ม AssistiveTouch และความเหมาะสมในการใช้ สามารถรับชมเพิ่มเติมได้ตามหัวข้อด้านล่างนี้เลย
- เทคนิคการตั้งค่าเมนูปุ่ม AssistiveTouch ให้เป็นปุ่ม Home, Lock Screen และอื่นๆ
- ปรับแต่งเมนู AssistiveTouch ใน iPhone, iPad
- ใช้ AssistiveTouch ใน iPhone อย่างไรถึงจะเหมาะสม?