รายงานจาก MacRumors ได้พูดถึงเรื่องการซ่อมเครื่อง iMac Pro และ MacBook Pro 2018 ประเด็นที่สำคัญว่าไว้ว่า หลังซ่อมเครื่องทั้ง 2 รุ่นจะต้องผ่านการทดสอบในการวิเคราะห์ปัญหา (Diagnostic Test) ด้วยเครื่องมือของทาง Apple เสียก่อน เครื่องถึงจะทำงานได้อย่างปกติ
iMac Pro และ MacBook Pro 2018 หลังซ่อมต้องผ่านการรันทดสอบโดยเครื่องมือของ Apple เพื่อให้ระบบทำงานได้ปกติ
รายละเอียดฟังแล้วอาจจะงงๆ หน่อย แต่เดี๋ยวขอสรุปเป็นข้อเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ นะครับ
- MacBook Pro 2018 ถ้าต้องซ่อมเกี่ยวกับอุปกรณ์ หน้าจอ(Display), ลอจิกบอร์ดหรือเมนบอร์ด(Logic board), Touch ID และ เคสส่วนบน (Top case) ซึ่งรวมถึง คีย์บอร์ด (Keyboard), แบตเตอรี่ (Battery), แทร็กแพด (Trackpad) และ ลำโพง (Speakers)
- iMac Pro ถ้าต้องซ่อมเกี่ยวกับอุปกรณ์ ลอจิกบอร์ดหรือเมนบอร์ด(Logic board) และหน่วยเก็บข้อมูล (Flash Storage)
- หลังซ่อมอะไหล่ส่วนที่กล่าวไว้ด้านบนเสร็จแล้วจะต้องได้รับการรันทดสอบตัวเครื่องด้วยเครื่องมือ Apple Service Toolkit เพื่อรันเช็คระบบของเครื่องเสียก่อน
- ถ้าไม่ได้รันเครื่องมือนั้นแม้ว่าอะไหล่ที่เปลี่ยนใหม่จะดี แต่ระบบจะไม่สามารถทำงานได้ หรือพูดอีกอย่างคือ ถ้าไม่รันก็เหมือนซ่อมไม่เสร็จนั่นแหละ
- ที่มาเกิดจากชิป T2 ที่ติดตั้งใน Mac ทั้ง 2 รุ่นซึ่งมีอยู่หลายที่และทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น ระบบจัดการส่วนกลาง system management controller, ระบบประมวลผลภาพ image signal processor, ระบบควบคุมเสียง audio controller, ระบบควบคุมหน่วยเก็บข้อมูล SSD controller, ระบบ Secure boot, ระบบ encrypted storage และระบบตรวจสอบตัวตนของ Touch ID
- ซึ่งการรันทดสอบนั้นก็เมื่อให้ชิปรู้จักอุปกรณ์ที่เปลี่ยนเข้ามาใหม่ เครื่องถึงจะทำงานได้ตามปกติ
- ร้านนอกที่ไม่ใช้ตัวแทนของ Apple ก็หมดสิทธิ์ที่จะซ่อมทั้ง 2 รุ่นนี้ เพราะไม่มีเครื่องมือทดสอบตัวดังกล่าว
- และอนาคตหากเครื่อง Mac ทั้ง 2 ตกรุ่นและเลิกให้การสนับสนุนก็หมายความว่า “เสียแล้วต้องทิ้ง” เพราะร้านนอกก็อาจจะซ่อมไม่ได้
ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้อย่างเราๆ ก็คือ
ซื้อ AppleCare ให้ Mac เอาไว้ อย่างน้อย 3 ปีนี้ที่เครื่องเกิดงอแง Apple ก็ยังคงดูแลให้คุณได้
ส่วนเรื่องของอนาคตต่อไปก็ค่อยรอดูกัน
ว่าแล้วใครสนใจ AppleCare สำหรับ Mac ทุกรุ่นบอกก่อนนะว่าถ้าจะต่อประกันต้องทำก่อนที่เครื่อง Mac จะประกันขาดนะครับ สอบถามที่ Studio7 ได้เลย