ไฟเขียวแล้ว! องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ อนุมัติให้บริษัท Neuralink ของอีลอน มัสก์ สามารถทำการทดลองทากับมนุษย์ได้ ในอนาคตเราอาจได้เห็นชิปฝังสมองที่รักษาโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับบระบบประสาทได้
อย. สรหัฐฯ อนุมัติให้ Neuralink เริ่มการศึกษาทางคลินิกครั้งแรกในมนุษย์
องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (อย.) อนุมัติให้ Neuralink เริ่มการศึกษาทางคลินิกครั้งแรกในมนุษย์ ด้านบริษัทเผยว่าดีใจที่จะได้เป็น “ก้าวแรกที่สำคัญ” ที่เทคโนโลยีของบริษัทจะสามารถช่วยเหลือผู้คนจำนวนมากได้ในสักวันหนึ่ง มีแผนเตรียมเปิดรับสมัครงานเร็ว ๆ นี้
We are excited to share that we have received the FDA’s approval to launch our first-in-human clinical study!
This is the result of incredible work by the Neuralink team in close collaboration with the FDA and represents an important first step that will one day allow our…
— Neuralink (@neuralink) May 25, 2023
Neuralink คืออะไร ?
นิวรัลลิงก์ ก่อตั้งโดยอีลอน มัสก์ เมื่อปี 2016 เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีประสาท หวังจะยกระดับวงการแพทย์เพื่อการรักษาโรคที่เกี่ยวกับสมองและระบบประสาท โดยเชื่อมต่อสมองมนุษย์เข้ากับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับ ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตและโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยในกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยที่มีภาวะหลงลืม ผู้ป่วยลมชักและผู้ป่วยจิตเวช ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือผู้ป่วยโรคอื่น ๆ ที่อยู่ในกลุ่มสูญเสียการควบคุมร่างกายและการเคลื่อนไหว
ชิป Neurlink
ในปี 2019 อีลอน มัสก์ ได้ออกมาพูดเกี่ยวกับชิปฝังสมอง เป็นอุปกรณ์ฝังสมองที่ซ่อนอยู่บริเวณหลังหู แล้วโยงสายอิเล็กโทรดผ่านกะโหลกเข้าไปยังสมอง ต่อมาในปี 2020 ก็มีการพัฒนาให้นำเอาชิปไปฝังไว้ในกระโหลกจริง ๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 23 มิลลิเมตร (ประมาณ หรียญ 5 บาท) และมีความหนา 8 มิลลิเมตร ซึ่งภายในมีสายรับส่งข้อมูลที่เรียกว่า อิเล็กโทรด ขนาดบางกว่าเส้นผมมนุษย์อยู่จำนวนมาก การฝังชิปจะทำโดยหุ่นยนต์ AI ทุกขั้นตอน ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง เมื่อทำการฝั่งชิปเสร็จก็สามารถออกจากโรงพยาบาลแล้วกลับบ้านได้เลย
หลักการทำงานของชิป Neuralink คือ ตัวชิปจะทำหน้าที่เสมือนเซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่ง ที่สามารถรับกระแสประสาทจากสมองเข้ามาประมวลผลผ่านอิเล็กโทรดที่ฝังไว้ และสามารถส่งกระแสประสาทกลับไปเพื่อกระตุ้นให้เซลล์ประสาททำงานตามคำสั่งได้ด้วย ซึ่งนอกจากจะใช้ควบคุมร่างกายได้ อาจจะทำให้ควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ใกล้ตัวโดยที่เราไม่ต้องไปสัมผัสอุปกรณ์นั้น ๆ เช่น การพิมพ์ข้อความบนคอมพิวเตอร์โดยใช้แค่การกวาดสายตาไปยังแป้นพิมพ์เท่านั้น
หาก Neuralink ทำการทดลองทางคลินิกในมนุษย์สำเร็จ เราอาจจะได้เห็นนวัตกรรมที่เรียกได้ว่า “เปลี่ยนโลก” จริง ๆ ในเวลาอันใกล้นี้ค่ะ