G-Technology เป็นแบรนด์ผู้ผลิตอุปรณ์จัดเก็บข้อมูลระดับพรีเมียม มีมากมายหลายรุ่น เช่น G-Drive (ที่ไม่ใช่ Google Drive) สำหรับใช้งานเฉพาะด้านที่ต้องการประสิทธิภาพสูง เช่น การตัดต่อ, การสำรองข้อมูล, ฯลฯ ซึ่งเป็นแบรนด์ในเครือของ WD (Western Digital) ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
G-DRIVE
จะเรียกว่าเป็น External Hard Drive ที่ออกแบบมาเพื่อ Mac เลยก็ว่าได้ (อันที่จริง Windows ก็ใช้งานได้เช่นกัน) เนื่องจากมีจุดเด่นอยู่ตรงที่ Thunderbolt 3, Thunderbolt 2, USB-C, USB 3.0 ช่วยให้สามารถดึงไฟล์ได้อย่างลื่นไหล เหมาะกับผู้ที่ต้องการสำรองไฟล์ขนาดใหญ่ หรือแม้กระทั่งการตัดต่อผ่านทาง External Hard Drive โดยตรงไม่ต้องโหลดลงเครื่อง
รุ่นที่รีวิว
G-DRIVE mobile USB-C
เริ่มต้นที่ตัวแรกมาพร้อมกับเทคโนโลยี USB-C ความเร็วสูงสุด 140MB/s ความจุ 1-2 TB การเชื่อมต่อเป็น USB-C และ USB 3.1 Gen 1 มีสายให้ทั้งหมดสองเส้น สามารถเลือกใช้งานกับ MacBook Pro ได้โดยไม่ต้องผ่านตัวแปลงให้ยุ่งยาก วัสดุแข็งแรงระดับอลูมิเนียม
G-DRIVE Mobile with Thunderbolt
สำหรับรุ่นนี้ก็จะคล้าย ๆ กับตัวด้านบนเพียงแต่มีพอร์ตการเชื่อมต่อได้ทั้ง Thunderbolt 2 และ USB 3.0 มีสายให้ทั้งหมดสองเส้น ภายในเป็นฮาร์ดดิสก์ชนิด 7200RPM ความจุ 1 TB สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 136MB/s และหากคุณใช้ MacBook Air ก็สามารถเสียบกับ DisplayPort ได้โดยตรง
ทดสอบใช้งานจริง G-DRIVE mobile USB-C และ G-DRIVE Mobile with Thunderbolt ผ่านทาง MacBook Pro 15″ (2017) ตามสเปคแล้วการใช้งานอาจไม่ค่อยต่างกันเท่าไหร่นัก ได้ความเร็วประมาณ 135-140MB/s ตามที่โฆษณาเอาไว้ External HDD ทั่วไปตามท้องตลาดจะทำความเร็วได้สูงสุดประมาณ 80-100MB/s ยกเว้นพวก External SSD อันนั้นจะเร็วกว่าเยอะ แต่ราคาโดดไปหลักหมื่น
เปรียบเทียบขนาดรุ่น Thunderbolt จะหนากว่าประมาณเท่าตัวนึง แต่หากโน้ตบุ๊กของคุณเป็นรุ่นใหม่ และไม่ได้ใช้พอร์ต Thunderbolt 2 ก็แนะนำไปเป็น USB-C จะประหยัดและได้ขนาดที่เล็กกว่า
G-DRIVE with Thunderbolt 3
ตัวสุดท้ายเป็นรุ่นใหญ่ที่เป็นพระเอกของเรา ให้ประสิทธิภาพสูงสุดผ่านทาง Thunderbolt 3 อีกทั้งยังรองรับ USB-C อีกพอร์ตแยกต่างหาก USB-C กับ Thunderbolt 3 ต่างกันอย่างไร มีให้เลือกตั้งแต่ 4-12 TB และก็มั่นใจได้ด้วยฮาร์ดดิสก์เกรด Enterprise-Class ทนทานกว่าเกรดทั่วไป
แถมยังรองรับการอัปเกรดในอนาคตด้วยการเชื่อมต่อแบบ Daisy-Chaining จำนวน 6 อุปกรณ์ ช่วยให้สามารถใช้แบนด์วิชท์ได้อย่างคุ้มค่า หรือจะเอาไปต่อกับอุปกรณ์อื่นอย่างหน้าจอก็ยังได้ ไม่จำเป็นต้องพก Hub แยกต่างหาก แต่หากใช้จะใช้ร่วมกับอุปกรณ์เก่าอย่าง USB 3.0 ก็สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องแปลง
ความเร็วสูงสุดที่โฆษณาไว้ก็คือ 250MB/s และเมื่อทดสอบจริงได้ประมาณ 235MB/s ถือว่าใกล้เคียงมากครับ และเนื่องจากเป็นฮาร์ดดิสก์ภายนอกขนาดใหญ่ 3.5″ จึงจำเป็นที่จะต้องจ่ายไฟแยก (เสียบปลั๊ก) แลกกับการที่ได้ความจุที่มากขึ้นและความเร็วโอนถ่ายที่ีรวดเร็วขึ้น รวมถึงการรับประกัน 5 ปี
โดยรวมแล้ว G-DRIVE อาจไม่ได้เหมาะกับทุกคน เพราะมีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบต่อความจุ แต่สิ่งที่ได้คือความมั่นใจในการใช้งาน เริ่มตั้งแต่วัสดุที่เป็นอลูมิเนียมไม่ใช่พลาสติก พอร์ตการเชื่อมต่อเฉพาะที่ออกแบบมาเพื่อผู้ใช้ Mac และ Windows (ในบางรุ่น) กลุ่มลูกค้าจึงเป็นพวกสตูดิโอหรืองานตัดต่อระดับมืออาชีพมากกว่า
และหากใครสนใจสามารถหาซื้อกันได้ที่ Studio7