ถึงกับห่างหายไปนานเลยทีเดียวกับ Motorola ในบ้านเรา ซึ้งผมนั้นไม่ได้เห็นมานานมาก ๆ แล้ว [อ่านข่าวเก่า] ซึ่งสิ่งที่ติดอยู่ในใจของผมคือ Motorola คือโทรศัพท์เครื่องแรกของผม (รุ่นฝาพับ V ยิ้มน่ะ จำไม่ค่อยได้แล้ว จอขาวดำอยู่เลย) หลังจากนั้นโทรศัพท์สวย ๆ บาง ๆ ที่เป็นฝาพับต่างก็เป็นของ Motorola มาโดยตลอด แต่แล้วไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตามมือถือยี่ห้อนี้ก็ได้ถอยตลาดไปจากบ้านเรา จนมาได้ยินอีกทีนึงก็ Motorola Defy ที่สุดแสนจะเทพกันน้ำ กันฝุ่น กันสะเทือนนั่นแหล่ะ นอกจาก Motorola Xoom ตัวนี้ที่ทาง SiS (ตัวแทนจำหน่าย) นำเข้ามาก็ยังจะมีสุดยอดมือถืออย่าง Motorola Atrix อีก (ซึ่งผมจะรีวิวให้ในเร็ว ๆ นี้) หลายคนอาจจะงงว่าทำไมวันนี้ผมมาแปลก มีรีวิว Tablet Android ด้วย? จริง ๆ แล้วก็ไม่ได้แปลกหรอกครับ ที่เว็บ iPhoneMod.net อย่างเราจะนำเสนอข่าวหรือสื่อด้านอื่นบ้าง เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีทางเลือกที่ดีสุด (ผมหวังแค่นั้นเอง)
นอกจาก Tablet ของ Motorola Xoom แล้วทางทีมงานยังเคยรีวิว Acer ICONIA W500, Acer ICONIA A500, Apple iPad, Apple iPad2 หรือแม้กระทั่งเฮ้าส์แบรนด์อย่าง M10 Netbook Tablet DualBoot ฯลฯ มาแล้ว ซึ่งก็ลองคลิกอ่านเพื่อเปรียบเทียบกันได้เลยครับ โดยรีวิว Tablet Android อย่าง Motorola Xoom (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า Xoom) ผมจะไม่พูดเจาะลึกมาก โดยจะพูดในฐานะผู้ใช้ iOS เป็นประจำคนหนึ่งเท่านั้นเอง ดังนั้นเนื้อหายาก ๆ สำหรับมือใหม่คงไม่มีแน่นอน
ตัว Xoom นั้นอาจจะไม่ได้ใหม่มากมายอะไรนัก แต่ก็เป็น Android 3.0 ตัวแรก ๆ ที่ขายในโลก เพียงแต่กว่าจะมีถึงมือผมมันช้าหน่อยเท่านั้นเอง [อ่านข่าวเก่า] ราคาค่าตัวของ Xoom แบ่งออกเป็น 3G-WiFi และตัว WiFi เช่นเดียวกับ iPad โดย WiFi จะอยู่ที่ 19,900 (รวมแวต 7%) ส่วนตัว 3G+WiFi จะอยู่ที่ 23,900 (รวมแวต 7%) ซึ่งราคาจะแพงกว่าของ Apple เล็กน้อย (โดยราคาซื้อจริง Xoom อาจะถูกกว่านี้) เพราะ iPad WiFi 32GB จะอยู่ที่ 18,900 (รวมแวต 7%) ส่วนตัว 3G+WiFi จะอยู่ที่ 22,900 (รวมแวต 7%) ซึ่งตัว Xoom นั้นจะมีอุปกรณ์เสริม (ขายแยก) จากทาง Motorola เองเยอะอยู่เหมือนกันไม่ว่าจะเป็น คีย์บอร์ดไร้สาย, เคสเจล, ขาตั้งพร้อมแท่น, สแตนลำโพง HD ต่อออกทีวี
ตัวอุปกรณ์ทั้งหมดที่ได้มาจากล้องจะมีเพียงแค่เครื่อง ที่ชาร์จบ้าน สายต่อคอมฯ คู่มือเท่านั้นเอง ส่วนสเปคผมจะลงให้ด้านล่างครับ เนื่องจากบทความนี้เป็นบทสัมผัสแรก ผมจะพูดถึงเรื่อง Hardware และดีไซน์โดยรวม ๆ เท่านั้น ซึ่งผมค่อนข้างที่จะแปลกใจมาก ๆ สำหรับสเปคที่ไม่ค่อยจะแตกต่างจากยี่ห้ออื่น ๆ มากเท่าไหร่ หากดูเผิน ๆ ดูเหมือน Acer ICONIA A500 จะดูน่าซื้อกว่าด้วยซ้ำ แต่ด้วยความที่มีแบรนด์ Motorola ค้ำประกันไว้อยู่ จึงทำให้ราคาสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ต้องกังวลไปครับเดี๋ยวเราจะมาทดสอบกันว่า ถึงจะราคาแพงแต่คุ้มค่าหรือปล่าว?
สเปคของแทบเล็ต Motorola XOOM
ระบบปฏิบัติการ : Android 3.0 Honeycomb
จุดเด่น : จอแสดงผลขนาดใหญ่กว่าบนตัวเครื่องที่เล็กกว่า, สนับสนุน 1080p HD, เป็นแทบเล็ตรุ่นแรกที่ใช้ซอฟต์แวร์ Honeycomb, โปรเซสเซอร์ดูอัลคอร์ 1GHz และแท่นเชื่อมต่อหลายแบบ
ขนาด : 249.1 มม. (สูง) x 167.8 มม. (กว้าง) x 12.9 มม. (ลึก)
จอแสดงผล : ขนาด 10.1 นิ้ว ความละเอียด 1280×800
น้ำหนัก : 730 กรัม
โปรเซสเซอร์ : NVIDIA® Tegra™ 2: 1GHz ดูอัลคอร์
แบตเตอรี่ : เล่นวิดีโอสูงสุด 10 ชั่วโมง
การเชื่อมต่อ : 3.5mm, micro USB 2.0 HS, Corporate Sync, Wi-Fi 2.4GHz & 5GHz 802.11b/g/n, Bluetooth 2.1 + EDR + HID
เครือข่าย : 3G, 802.11n w/ฮอตสปอตส่วนบุคคล
ข้อความ/เว็บ/โปรแกรม : Email (Corporate Sync, Google Mail, POP3/IMAP embedded, Push Email, Yahoo Mail) , WebKit w/ Flash
เสียง : AAC, AAC+, AMR NB, AMR WB, MP3, XMF
วิดีโอ : บันทึกภาพ 720p / เล่น 1080p / สตรีมมิ่ง, H.263, H.264, MPEG4
กล้อง : กล้องด้านหลัง 5 MP พร้อมด้วยแฟลช LED แบบคู่/กล้องด้านหน้า 2MP
หน่วยความจำ : หน่วยความจำภายในเครื่อง 32GB, สนับสนุน SD card หลังจากที่อัพเกรดซอฟต์แวร์, 1GB DDR2 RAM
สังเกตุของแท้ต้องมี Warranty by Mororola Thailand นะครับ ไม่งั้นเครื่องหิ้วอาจจะต้องบินไปคืนถึงเมืองนอก อิอิ … อีกเรื่องคือตัว Xoom นั้นคือจะใช้หน่วยประมวลผล NVIDIA Tegra 2 ที่มีซีพียู 2 คอร์ความเร็ว 1GHz แรมขนาด 1GB (แรงกว่าคอมที่ใช้พิมพ์รีวิวอยู่ตอนนี้อีก ฮ่า ๆ …) เมื่อซื้อมาจะเป็น Android 3.0.1 และจะได้รับการอัพเดทเป็น Android 3.1 ในเร็ววัน ส่วนช่องใส่ MicroSD ที่ติดมากับตัวเครื่องนั้นยังใช้ไม่ได้ (แต่จะได้รับการอัพเดทในโอกาสถัด ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ไป) หลายถัดเหลือเกิน 😛 แต่ที่แน่ ๆ คือถึงได้รับการอัพเดทเป็น Android 3.1 (ที่ยุโรปได้อัพแล้ว) ก็ยังใช้ไม่ได้อยู่ดีครับ
ตัวชาร์จไฟบ้านปล่อยกระแส 12V 1.5A แต่ขอให้ทุกท่านเลื่อนภาพไปดูดี ๆ ครับ มันเป็นหัวเข็ม !!! ซึ่งแน่นอนว่าแทบจะไม่สามารถใช้ร่วมกับใครได้เลย T_T (แต่ส่วนใหญ่ก็ใช้ร่วมกันไม่ค่อยได้อยู่แล้วล่ะ เพราะมันไม่ใช่มือถือที่จะเป็นมาตรฐาน MicroUSB เหมือนกัน)
ตัวเครื่องพร้อมหน้าจอก่อน Lock In ให้ดูแค่นี้ก่อน อยากเห็นซอฟต์แวร์กับการใช้งานขอให้ติดตามอ่านบทต่อไป กร๊าก ๆ ๆ … ภาพรวม ๆ จากการมองด้วยดวงตามนุษย์แล้วพบว่า Xoom ด้านหน้านั้นโดนเด่น ด้วยพื้นที่หน้าจอสีดำ ส่วนทางด้านหลังจะทำจากอลูมิเนียม งานประกอบแน่นหนากว่า Acer ICONIA A500 (อาจเพราะแพงกว่า?) การจับถนัดมือดีเพราะดีไซน์เครื่องที่เป็นหลังเต่า น้ำหนักอยู่ค่อนข้างหนัก แต่กระชับมือครับ ด้านหน้าไม่มีปุ่มใด ๆ อยู่เลย
มีตรา Motorola โดดเด่นอยู่บริเวณด้านซ้ายบนเท่านั้น ส่วนตัวผว่ามันดูเรียบ ๆ ไปหน่อยแล้วไม่ค่อยโดดเด่นเท่าไหร่นัก
ตรงกลางมีกล้องความละเอียด 2MP ซ่อนอยู่ (เออ… เรียกว่าซ่อนดีไหมนะ ดูไม่ค่อยเนียลเหมือน iPad2 = =”) แต่ Xoom นี่ก็ไม่ถึงกับด้อยเลยทีเดียว ผมเคยอ่าน Consumer Reports (องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร) แล้วพบว่าจากการทดสอบของเขาจาก Tablet ทั้งหมด 10 รุ่น โดย Xoom นั้นน่าใช้เป็นอันดับ 2 รองจาก iPad2 เท่านั้นเอง!!!
ด้านหลังของ Xoom ได้ใช้ลักษณะแบบ Dual Tone ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าสีเงินที่เป็นอลูมิเนียมและสีดำ (ซึงน่าจะเป็นพลาสติกหุ้มยาง) ตรงกลางมีโลโก้ Motorola และด้านล่างมีโลโก้บลูทูธ ห้ามทิ้ง ตกใจ ห้ามเผา (แล้วโลโก้บลูทูธเกี่ยวไรหว่า อยากรู้จัง -*-) ตัวเครื่องมีลักษณะโค้งเหมือนหลังเต่า ทำให้เหาะกับสรีระของมนุษย์มากกว่าในการถือ และช้อนหยิบขึ้นจากพื้น
ภาพจากุมเครื่องให้เห็นชัด ๆ ว่าเครื่องนั้นได้โค้งมนจริง ๆ นะไม่ได้ล้อเล่น ^^ ผิวแบบนี้เมื่อเคาะ ๆ สัมผัสดูแล้วทำให้ผมนึกถึง iPad1 เลย มันคล้าย ๆ กันจริง ๆ
ด้ายหลังเครื่องมีปุ่มสำหรับล็อคและ เปิด-ปิด เครื่อง อีกทั้งยังมีลำโพงคู่แล้วกล้องความละเอียด 5MP ที่มาพร้อมกับแฟลชคู่ซึ่งให้แสงที่แรงมากเป็นพิเศษ โดยกล้องจะสามารถถ่ายได้ความละเอียด VDO มากสุดที่ 720P
ลำโพงอีกตัวหนึ่งซึ่งอยู่อีกฝั่ง (ตอนแรกผมเข้าใจผิดว่ามีเพียงแค่ลำโพงนี้ตัวเดียวซะอีก พอไปดูตรงกล้องสังเกตุดี ๆ ถึงได้ร้อง อ้อ… *0*)
ส่วนด้านท้ายของเครื่องนั้นประกอบกไปด้วย ที่ชาร์จ, MicroUSB, HDMI และส่วนต่อสำหรับ Dock ต่าง ๆ แล้วก็ด้านซ้ายสุดไม่ใช่ปลวกเจาะนะครับ (พูดเป็นเล่นไป -*-) แต่เป็นรูไมค์
ตัวเครื่องประกอบได้ดีจริง ๆ แทบจะไม่ต้องกลัวละอองน้ำหรือฝุ่นเลย เพราะตรงอลูมิเนียมเป็นชิ้นเดียวกันทั้งอัน ยกเว้นรอยต่อระหว่างจอและพื้นที่สีดำ แต่ก็ยังทำได้ดีอยู่ดีเพราะฝุ่นไม่สามารถเข้าไปได้เลย
ด้านบนของเครื่องเป็นช่องใส่ SIM ขนาดเต็มใบ ที่ไม่ต้องตัดบ้าบอ ห่าเหวอะไรให้มันยุ่งยาก สลับเปลี่ยนกับเพื่อนก็ไม่ได้ ตัดก็เบี้ยว หาร้านตัดก็ยาก เอาไปเปลี่ยน MicroSim ที่ศูนย์ก็รอเป็นครึ่งชั่วโมง บลา ๆ ๆ … (เริ่มพาล – -*) อ้อ… อีกอย่างก็คือมีช่องสำหรับใส่ MicroSD อยู่ใกล้ ๆ แต่ตอนนี้ยังใช้ไม่ได้ต้องรออัพเดทซอฟต์แวร์
ด้านซ้ายของเครื่องมีปุ่มสำหรับปรับ เพิ่ม-ลด เสียงซึ่งปุ่มเล็กไปนิดทำให้กดลำบากไปหน่อยสำหรับคนที่มือใหญ่ ๆ หน่อย
ขนาดส่วนที่หนาที่สุดของเครื่องเมื่อเทียบกับขนาด SIM ปกติ ^^
ขนาดส่วนที่บางที่สุดของเครื่องเมื่อเทียบกับขนาด SIM ปกติ ^^
สรุปข้อดี
เก็บงานและประกอบได้ดีมาก ๆ ออกแบบมาเหมาะกับสรีระของมนุษย์ ทำให้จับถือได้ง่าย ตัววัสดุแข็งแรง มีแฟลชถึง 2 ดวง ช่วยให้สะดวกเมื่อต้องถ่ายภาพในที่มืด กล้องมีความละเอียดสูง เหมาะกับการใช้งาน VDO Call อีกทั้งยังมีพอร์ทสำหรับต่อออก HDMI และ Dock อุปกรณ์เสริมที่หลากหลาย (ที่ใช้งานได้จริง) สเปคเครื่องมีความเร็วสุดถึง 1Ghz แบบ DualCore และ RAM 1GB
สรุปข้อเสีย
ราคายังถือว่าแพงไปนิดเมื่อเทียบกับคู่แข่ง แต่หากได้ราคาโปรโมชั่นดี ๆ หรือผ่อน 0% จะดูเหมือนน่าซื้อกว่า น้ำหนักเครื่องยังดูเหมือนเกิน ๆ ไปนิด และปุ่มปรับเสียงยังเล็กไปหน่อยทำให้กดได้ลำบาก ไม่มีพอร์ท USB (มีแต่พอร์ท MicroUSB ที่ต้องต่อสายแปลงอีกทีหนึ่ง) อีกทั้ง MicroSD ยังใช้ไม่ได้ต้องรอการอัพเดทโปรแกรม
ติดตามชม Review ภาคต่อได้ที่นี่
ขอขอบคุณ บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สำหรับเครื่องทดสอบ
Thanks for sharing! I liked this one, keep up the good work 🙂