in ,

วิธีลงทะเบียนเลือกตั้ง ส.ส. ล่วงหน้าปี 2566 พร้อมข้อมูลสำคัญที่ควรทราบ

ทีมงานมาสอนวิธีลงทะเบียนเลือกตั้ง ส.ส. ล่วงหน้าปี 2566 เป็นการลงทะเบียนผ่านทางช่องทางออนไลน์ ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที คนที่อาศัยอยู่นอกเขตเลือกตั้งหรือต่างประเทศ ต้องอ่าน! ยังมีคำถามที่คนมักถามบ่อยซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญ ประชาชนชาวไทยควรทราบ และขอรณรงค์ให้ทุกคนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง!

วิธีลงทะเบียนเลือกตั้ง ส.ส. ล่วงหน้าปี 2566 พร้อมข้อมูลสำคัญที่ควรทราบ

วันเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2566 วันจริงคือวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเลือกตั้ง(ตามทะเบียนบ้าน) อยู่แล้วให้ไปใช้สิทธิในวันดังกล่าวได้เลย ไม่ต้องลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า

แต่หากเราไม่ได้อาศัยอยู่ในเขตเลือกตั้งตามทะเบียนบ้าน เป็นผู้ที่ต้องไปทำงานหรือผฏิบัติงานที่ต่างจังหวัด รวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ หากจะเลือกตั้ง ส.ส. จะต้องลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต ซึ่งจะต้องไปเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 มาดูวิธีการลงทะเบียนเลือกตั้ง ส.ส. ล่วงหน้าปี 2566 กันเลย 

❗️ บุคคลที่มีสิทธิลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้ามี 3 กลุ่มคนดังต่อไปนี้

1.บุคคลที่ได้รับคำสั่งจากราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง สามารถขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้งได้

2.บุคคลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านน้อยกว่า 90 วัน หรือพักอาศัยนอกเขตเลือกตั้ง หรือมีกิจธุระ สามารถขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้งได้

3.บุคคลที่พำนักอยู่ต่างประเทศหรือต้องเดินทางไปต่างประเทศช่วงวันเลือกตั้ง สามารถขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกราชอาณาจักรได้

วิธีลงทะเบียนเลือกตั้ง ส.ส. ล่วงหน้า (นอกเขต) ปี 2566

การลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม – 9 เมษายน 2566 เท่านั้น หากเป็นหลังจากนี้จะไม่สามรถลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าได้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องไปเลือกตั้งตามเขตทะเบียนบ้านในวันเลือกตั้งจริงเท่านั้น 

การลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าสามารถทำได้ 3 ช่องทาง ดังนี้

1. ยื่นคำขอด้วยตนเอง ต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น หรือยื่นคำขอต่อเอกอัคราชทูตหรือผู้ที่เอกอัคราชทูตมอบหมาย(ในกรณีที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ)

2. ยื่นคำขอทางไปรษณีย์ จ่าหน้าซองถึงนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบีนยนท้องถิ่น โดยถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ

3. ยื่นคำขอทางอินเทอร์เน็ต (เฉพาะขอใช้สิทธินอกเขตเลือกตั้ง/นอกราชอาณาจักร) ตลอด 24 ชั่วโมง ทำได้ทั้งบนสมาร์ตโฟนและบนคอมพิวเตอร์

📌ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์: https://www.bora.dopa.go.th/all-election

1.) กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน

  • เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก
  • เลขหลังบัตรประจำตัวประชาชน 12 หลัก
  • ชื่อ – นามสกุล (ไม่ต้องใส่นาย นางสาว หรือตำแหน่ง)
  • วัน เดือน ปี เกิด (ตามบัตรเท่านั้น )
  • รหัสประจำบ้าน ที่อยู่ในเล่มทะเบียนบ้านหน้าแรก 11 หลัก

เสร็จแล้วแตะที่ “ตรวจสอบข้อมูล”

2.ยืนยันตัวตนเพื่อตรวจสอบข้อมูล

แตะ “ตรวจสอบข้อมูล” อีกครั้ง

3. เลือกสถานที่ที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขต

  • เลือกจังหวัดที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต (จังหวัดที่จะไปเลือกตั้ง หรือจังหวัดที่อาศัยอยู่ ณ ตอนนี้)
  • เลือกสถานที่ที่จะไปใช้ทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต (อาจเลือกเป็นสถานที่ใกล้ที่พักอาศัย หรือที่ที่สะดวกจะเดินทางไป)

เสร็จแล้วแตะ “บันทึกข้อมูล”

4.ลงทะเบียนสำเร็จ

กด “ปิด” จะขึ้นให้พิมพ์เอกสาร ซึ่งในเอกสาร จะมี QR Code ไว้ให้สแกนอีกที เพื่อดาวน์โหลดเอกสารสำหรับการพิมพ์

หากกดพิมพ์เอกสารไม่ได้ ให้แคปหน้าจอเอาไว้

เมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้วอย่าลืมไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าตามสถานที่ที่เลือกไว้ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2566

ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส. ล่วงหน้าปี 2566 📌

  1. วันเลือกตั้ง ส.ส. ล่วงหน้า ปี 2566 คือวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 ผู้ที่ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าตามวิธีด้านบนแล้วสามารถไปเลือกตั้งล่วงหน้าในวันดังกล่าว ที่สถานที่ที่ลงทะเบียนเอาไว้ เริ่มเปิดหีบตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.
  2. ในวันที่ไปเลือกตั้งต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน (บัตรหมดอายุก็ใช้ได้) หากไม่มีสามารถใช้ใบขับขี่ พาสปอร์ต หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐแทนได้

คำถามสำคัญที่มักพบเจอบ่อย ทีมงานรวบรวมคำตอบมาให้ ดังนี้

❓เคยลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าปี 2562 เอาไว้ ในปี 2566 ต้องลงทะเบียนอีกครั้งไหม❓

คำตอบคือ หากอยากเลือกตั้งล่วงหน้าปี 2566 จะต้องลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตใหม่อีกครั้ง  

❓ต้องเลือกผู้สมัครตามเขตทะเบียนบ้าน หรือเลือกตามเขตที่เราลงทะเบียนว่าจะไปเลือก❓

คำตอบ : ให้เลือกผู้สมัครตามเขตทะเบียนบ้านของเรา เช่น หากเรามีทะเบียนบ้านอยู่ใน พะเยา เขต 2 แต่ลงทะเบียนว่าจะไปเลือกตั้งล่วงหน้าใน เชียงใหม่ เขต 1 ให้เลือกผู้สมัครตามทะเบียนบ้านของเราเท่านั้น ซึ่งก็คือ เลือกผู็สมัครจาก พะเยา เขต 2

❓รหัสประจำบ้านดูจากตรงไหน❓

ในขั้นตอนการลงทะเบียนจะให้เรากรอก “รหัสประจำบ้าน” ซึ่งข้อมูลนี้จะอยู่ในเทียนบ้านหน้าแรก มีทั้งหมด 11 หลัก 

หากไม่มีทะเบียนบ้านอยู่กับตัว สามารถดูทะเบียนบ้านทางออนไลน์ได้ผ่านแอป ThaID 

เมื่อเข้าไปในแอป ThaID ทำตามขั้นตอนตามรูปได้เลย (ผู้ใช้จะต้องเปิดใช้งานบัตรประชาชนดิจิทัลก่อนถึงจะสามารถดูข้อมูลทะเบียนบ้านแบบออนไลน์ได้)

1.แตะที่เมนู เอกสาร

2.แตะดูทะเบียนบ้าน

 

โดยรหัสประจำบ้านจะต้องเป็นรหัสประจำบ้านที่ใช้ลงทะเบียน หากมีการบ้ายทะเบียนบ้าน ให้ยึดตามทะเบียนบ้านล่าสุด

❓ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าเสร็จแล้ว ต้องปริ้นเอกสารไปใช้ในวันเลือกตั้งล่วงหน้าด้วยหรือไม่❓

คำตอบคือ ไม่จำเป็น ใช้เพียงบัตรประชาชใบเดียวเท่านั้นในการเลือกตั้ง แต่หากเกิดปัญหาขึ้นจริงระหว่างไปใช้สิทธิที่หน่วยงานเลือกตั้ง ก็แสดงเอกสารใบนี้ให้เจ้าหน้าที่ดู ดังนั้น จะปริ้นเก็บไว้ก็ได้ หรือเก็บเป็นไฟล์ไว้ในสมมาร์ตโฟน หากเก็บเป็นไฟล์ไม่ได้ให้แคปหน้าจอเก็บเอาไว้

❓แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องกาเบอร์อะไร❓

ทีมงานได้รวบรวมข้อมูลและเบอร์ของพรรคต่าง ๆ มาให้แล้ว ดังนี้

เบอร์ 1 ใหม่
เบอร์ 2 ประชาธิปไตยใหม่
เบอร์ 3 เป็นธรรม
เบอร์ 4 ท้องที่ไทย
เบอร์ 5 พลังสังคมใหม่
เบอร์ 6 ครูไทยเพื่อประชาชน
เบอร์ 7 ภูมิใจไทย
เบอร์ 8 แรงงานสร้างชาติ
เบอร์ 9 พลัง
เบอร์ 10 อนาคตไทย
เบอร์ 11 ประชาชาติ
เบอร์ 12 ไทยรวมไทย
เบอร์ 13 ไทยชนะ
เบอร์ 14 ชาติพัฒนากล้า
เบอร์ 15 กรีน
เบอร์ 16 พลังสยาม
เบอร์ 17 เสมอภาค
เบอร์ 18 ชาติไทยพัฒนา
เบอร์ 19 ภาคีเครือข่ายไทย
เบอร์ 20 เปลี่ยน
เบอร์ 21 ไทยภักดี
เบอร์ 22 รวมไทยสร้างชาติ
เบอร์ 23 รวมใจไทย
เบอร์ 24 เพื่อชาติ
เบอร์ 25 เสรีรวมไทย
เบอร์ 26 ประชาธิปัตย์
เบอร์ 27 พลังธรรมใหม่
เบอร์ 28 ไทยพร้อม
เบอร์ 29 เพื่อไทย
เบอร์ 30 ทางเลือกใหม่
เบอร์ 31 ก้าวไกล
เบอร์ 32 ไทยสร้างไทย
เบอร์ 33 ไทยเป็นหนึ่ง
เบอร์ 34 แผ่นดินธรรม
เบอร์ 35 รวมพลัง
เบอร์ 36 เพื่อชาติไทย
เบอร์ 37 พลังประชารัฐ
เบอร์ 38 เพื่อไทรวมพลัง
เบอร์ 39 มิติใหม่
เบอร์ 40 ประชาภิวัฒน์
เบอร์ 41 ไทยธรรม
เบอร์ 42 ไทยศรีวิไลย์
เบอร์ 43 พลังสหกรณ์
เบอร์ 44 ราษฎร์วิถี
เบอร์ 45 แนวทางใหม่
เบอร์ 46 ถิ่นกาขาวชาววิไล
เบอร์ 47 รวมแผ่นดิน
เบอร์ 48 เพื่ออนาคตไทย
เบอร์ 49 รักษ์ผืนป่าประเทศไทย

❓อยากเลือกตั้งนอกเขตในวันเลือกตั้งจริงได้ไหม❓

คำตอบคือ ไม่ได้ การเลือกตั้งนอกเขตสงวนไว้ให้สำหรับผู้ที่จะเลือกตั้งล่วงหน้าเท่านั้น

❓เพิ่งย้ายทะเบียนบ้านไม่ถึง 90 วัน ต้องไปเลือกตั้งที่ไหน❓

ตามกฏหมายแล้วหากเพิ่งย้ายทะเบียนบ้านมาไม่ถึง 90 วัน จะต้องไปเลือกตั้งในเขตทะเบียนบ้านเดิม แต่เราสามารถลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตได้ เพื่อที่จะได้ไปเลือกตั้งในเขตที่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน 

❓การเลือกตั้ง สามารถลงคะแนนแบบออนไลน์ได้ไหม❓

คำตอบคือ ไม่ได้ ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องเข้าคูหา กาเบอร์ที่ต้องการด้วยตนเองที่สถานที่เลือกตั้งที่ กกต. จัดเอาไว้ให้

❓คนพิการสามารถไปเลือกตั้งได้ไหม❓

คำตอบคือ ได้ ทาง กกต. พร้อมอำนวยการ ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.) เป็นผู้อำนวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือในการออกเสียงลงคะแนนแก่คนพิการ หรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ ณ หน่วยเลือกตั้งไว้เป็นพิเศษ ด้วยการจัดวางคูหาออกเสียงลงคะแนนในที่เลือกตั้ง ให้คำนึงถึงความสะดวกในการออกเสียงลงคะแนนของคนพิการ หรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ โดยให้จัดวางคูหาอยู่ห่างจากคูหาอื่นอย่างน้อย 1.50 เมตร โต๊ะวางคูหาออกเสียงลงคะแนนมีความสูงไม่เกิน 0.75 เมตร และจัดเก้าอี้ไว้ในคูหาออกเสียงลงคะแนนด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติม

แบบฟอร์มสำคัญเกี่ยวกับเอกสารอื่น ๆ ที่บางคนต้องใช้ในการยื่นขอลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า

https://www.ect.go.th/ect_th/more_news.php?cid=35&filename=index&fbclid=IwAR3EAgZAx3RsV0Sqw462ieV5zDmoEI5m9jF4_qaG_CFQ3li4MisR7wVV_4M&fbclid=IwAR1Zu_nCV6IZNlrB7kizyiuNxoOUeaKlPRdmOlNHLnrk0zDcqVC2lYMYyAE

อย่าลืมไปใช้สิทธิใช้เสียง เลือกคนดี เลือกคนที่ไว้ใจมาเป็นผู้แทนในการบริหารประเทศ เพื่ออนาคตที่ดีขึ้นของประเทศไทย 🙂

ความคิดเห็น - Like เพจ iPhoneMod.net

เขียนโดย Nooknick Yanika

Humanities, English Literature
Chiangmai University