เรื่องมีอยู่ว่าในภาพยนตร์เรื่อง แฟนเดย์ แฟนกันแค่วันเดียว มีฉากที่พูดถึงเรื่อง ปีติ๊กปีต่อก ‘Tick-Tock’ ซึ่งเป็นศัพท์ค่อนข้างเฉพาะทางอยู่ และหลายคนคงฟังคำอธิบายของเด่นชัยไม่ทัน รู้หมือไร่ ? วันนี้เราจึงขอไปนำเสนอที่มาที่ไปกัน
Tick-Tock คืออะไร
ปีติ๊ก-ปีต่อก เป็นโมเดลการพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ (เป็นเสียงสัญญาณนาฬิกา) ของทาง Intel ตามกฎของ Moore’s Law ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 1965 (คนนี้เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งด้วย) ซึ่งว่าด้วยเรื่องการเพิ่มขึ้นของทรานซิสเตอร์บนแผงวงจรเป็นเท่าตัวทุกปี ยกตัวอย่างเช่น ความเร็วของหน่วยประมวลผล, ความจุของแรม, หรือแม้กระทั่งจำนวนพิกเซลของกล้องดิจิตอล
กฎนี้จะยังคงเป็นอยู่อย่างนี้จนถึงปี 2015-2020 หรืออาจมากกว่านั้น
ซึ่งถึงแม้ภายหลัง Intel จะบอกว่าทุกสองปีแทน (พัฒนาไม่ทัน) และถึงแม้ว่ากฎของมัวร์จะไม่ได้เป็นไปตามนั้น 100% ซึ่งมีปัจจัยภายนอกมากเกี่ยวข้อง แต่ก็ล้วนเป็นแนวทางการพัฒนาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
Tick-Tock เปลี่ยนเป็น PAO
สำหรับใครที่พึ่งจำเรื่อง Tick-Tock ข้างบนไป ขอให้ลืมไปเดี๋ยวนี้ เพราะในวันนี้เป็นเรื่องล้าสมัยไปแล้ว เมื่อไม่กี่เดือนก่อน Intel บอกว่าจะยกเลิก Tick-Tock และเปลี่ยนเป็น PAO แทนตามกระบวนการดังนี้
- Process : เปลี่ยนแปลงขนาดและกระบวนการผลิต
- Architecture : เปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมหรือโครงสร้าง
- Optimization : ปรับแต่งใหม่ในสถาปัตยกรรมเดิมให้ดีขึ้น
โดยกระบวนการทั้งหมด (เรียกว่า Tic-Tac-Toe จากเดิมที่เป็น Tick-Tock ก็ได้) จะอยู่ที่ 2.5-3 ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า CPU ใหม่จะมาทุก 2.5-3 ปี เพราะทาง Intel ก็เตรียมรุ่นใหม่มาขายเราอยู่ตลอด เพียงแต่ในด้าน Platform อาจไม่มีความถี่เหมือนเมื่อหลายปีก่อน
ยังงงอยู่เลย
สำหรับคนที่กำลังงงเรื่องสัญญาณนาฬิกา, บัส, สถาปัตยกรรม, บลา ๆ ๆ ๆ ลองจำใหม่แบบนี้ก็ได้ครับ เมื่อเทียบกับ iPhone ที่มีแนวทางการพัฒนาคล้ายกัน
- iPhone 5 = Tick
- iPhone 5s = Tock
- iPhone 6 = Tick
- iPhone 6s = Tock
ซึ่งบางคนก็ชอบซื้อรุ่นใหม่ไปเลย (Tick) ในขณะที่บางคนชอบรุ่นปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพ (Tock) นั่นเองครับ และส่วนใครจะซื้อ PC/Mac ในปีไหนก็ลองเอาตาราง Road Map ของทาง Intel ไปพิจารณากันดูได้ … ไม่งงแล้วเนอะ ?