in

รัฐบาลสหรัฐฯ​ สั่งฟ้อง Adobe เรื่องซ่อนเงื่อนไข “คิดค่าธรรมเนียม” การยกเลิกสมาชิก

มีรายงานว่าหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้สั่งฟ้อง Adobe เรื่องการซ่อนเงื่อนไข “คิดค่าธรรมเนียม” การยกเลิกสมาชิกและขั้นตอนการยกเลิกสมาชิกที่ยุ่งยาก

Adobe ถูกฟ้องเรื่องการขัดขวาง และซ่อนเงื่อนไขการคิดค่าธรรมเนียม การยกเลิกสมาชิก

กระทรวงยุติธรรมและคณะกรรมาธิการการค้าของรัฐบาลกลางสหรัฐ (The United States Department of Justice and the Federal Trade Commission : DoJ) ได้ยื่นฟ้อง Adobe ในประเด็นการขัดขวางการยกเลิกสมาชิกของผู้ใช้ และการซ่อนเงื่อนไขการคิดค่าธรรมเนียมยกเลิกสมาชิก

ข้อมูลระบุว่า Adobe มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมผู้ใช้ที่ต้องการยกเลิกสมาชิก, และทำกระบวนการยกเลิกสมาชิกที่ซับซ้อน ราวกับว่า “จงใจ” ที่จะขัดขวางการยกเลิกสมาชิกของผู้ใช้

Adobe มีแผนบริการเรียกว่า Creative Cloud ให้ผู้ใช้สามารถลงทะเบียนสมาชิกเพื่อใช้ Photoshop, Lightroom และอื่น ๆ โดยจ่ายค่าบริการแบบรายเดือน, รายปี ซึ่งปกติแล้วการใช้งานแบบรายเดือนนั้น ผู้ใช้ควรที่จะสามารถยกเลิกการเป็นสมาชิกเมื่อไหร่ก็ได้

อย่างไรก็ตาม Adobe มีเงื่อนไขข้อตกลงรายปี “ซ่อน” ไว้อยู่ ถึงแม้จะมีให้อ่านบนเว็บแต่ก็ไม่ได้เห็นได้ชัดในหน้าเว็บเลือกแผนบริการ ทำให้ส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้อาจไม่ทราบข้อนี้ ทำให้การยกเลิกการเป็นสมาชิกทำได้ยาก

แผนบริการ แบบมีเงื่อนไข

ผู้ใช้ที่สมัครทดลองใช้งาน Creative Cloud ฟรี, เมื่อทดลองครบแล้วก็จะมีการเริ่มเก็บเงินพร้อมเปิดใช้แผนบริการ Creative Cloud เริ่มต้น แต่เป็นข้อตกลงแบบรายปี ทำให้ผู้ใช้ที่ต้องการยกเลิการใช้แผนบริการดังกล่าว จะต้องจ่ายเงินส่วนต่าง 50% จากระยะเวลาที่เหลืออยู่ ถึงแม้ผู้ใช้จะไม่สามารถใช้งาน Adobe ได้ ณ ตอนนั้นแล้วก็ตาม

รายงานเผยว่า Adobe ตั้งราคาแผนบริการ Creative Cloud แบบ All Apps “ค่อนข้างสับสน” โดยแผนบริการประกอบไปด้วย

  1. รายเดือน จ่ายเป็นเดือน
  2. รายปี จ่ายเป็นเดือน
  3. รายปี จ่ายเป็นปี

แผนบริการที่ Adobe แนะนำนั้นจะเป็นแบบ “รายปี จ่ายเป็นเดือน” ตกอยู่ที่ 60 ดอลลาร์ต่อเดือน (1,143 บาท) แต่มีเงื่อนไขว่า จะมีค่าธรรมเนียมหากยกเลิกหลังจากเปิดใช้แล้ว 14 วัน, ส่วนแผนบริการแบบ “รายเดือน จ่ายเป็นเดือน” ที่สามารถยกเลิกตอนไหนก็ได้นั้นอยู่ที่ 90 ดอลลาร์ต่อเดือน (3,317 บาท) ซึ่งแพงกว่า และแผนแบบ “รายปี จ่ายเป็นปี” อยู่ที่ 660 ดอลลาร์ต่อปี (13,725 บาท) หารมาแล้วดูว่าถูกสุด แต่ Adobe จะไม่คืนเงินหากผู้ใช้ยกเลิกหลังจากเปิดใช้แล้ว 14 วัน

สำหรับประเด็นที่ DoJ สั่งฟ้องนั้นเป็นเรื่องที่ Adobe ไม่ทำตาม Restore Online Shoppers’ Confidence Act (ROSCA) ที่ให้ข้อมูลไม่ชัดเจน, ให้ข้อมูลเยอะทำให้ล่าช้า, ใส่ลิงก์ไม่ชัด และทำการซ่อนข้อมูลเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการยกเลิกสมาชิกก่อนกำหนด

รายงานแผยว่าในคดีดังกล่าวได้มีการเรียกร้องให้ชดเชยค่าเสียหายให้กับผู้บริโภคซี่งยังไม่มีการระบุจำนวนว่าเท่าไหร่, มีค่าปรับทางแพ่ง และสั่งห้ามไม่ให้ Adobe แนวทางเดิมในการซ่อนค่าธรรมเนียม และขัดขวางการยกเลิกใช้บริการของผู้ใช้

ที่มา : MacRumors

ความคิดเห็น - Like เพจ iPhoneMod.net

เขียนโดย Thitirath Kinaret

เต้นท์ iMoD : ป.ตรี วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ป.โท บริหารธุรกิจ ม.พายัพ ชอบความสวยงามแบบเรียบง่าย ตามแบบฉบับของ Apple @Contact : facebook.com/tentzy